วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 5.4 การเชื่อมต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยแสง

การทดลองที่ 5.4

การเชื่อมต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยแสง

วัตถุประสงค์ของการทดลอง


  • ฝึกต่อวงจรโดยใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อทางแสง เช่น เบอร์ PC817
  • ประยุกต์ใช้งานอุปกรณ์ชนิดนี้ร่วมกับบอร์ด Arduino และใช้ควบคุมการจ่ายกระแสให้โหลด

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง


  1. แผงต่อวงจร(เบรดบอร์ด)                                                      1 อัน
  2. อุปกรณ์เชื่อมต่อทางแสง PC817                                          1 ตัว
  3. ไดโอดเปล่งแสงสีแดงหรือสีเขียว                                        1 ตัว
  4. ตัวต้านทาน 220Ω หรือ 330Ω                                               1 ตัว
  5. ทรานซิสเตอร์ NPN เบอร์ PN2222A                                     1 ตัว
  6. ตัวต้านทาน 1 kΩ                                                                  1 ตัว
  7. ตัวต้านทาน 4.7 kΩ                                                               1 ตัว
  8. ตัวต้านทาน 10 kΩ                                                                1 ตัว
  9. ตัวต้านทานปรับค่าได้ 10 kΩ หรือ 20 kΩ                             1 ตัว
  10. ไดโอด 1N400x                                                                    1 ตัว
  11. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงขนาดเล็ก                                       1 ตัว
  12. สายไฟสําหรับต่อวงจร                                                          1 ชุด
  13. มัลติมิเตอร์                                                                            1 เครื่อง
  14. แหล่งจ่ายแรงดันควบคุม                                                       1 เครื่อง
  15. ออสซิลโลสโคปแบบดิจิทัล                                                  1 เครื่อง



1.  ต่อวงจรบนเบรดบอร์ดตามรูปที่ 5.4.1 ให้สังเกตว่า ในผังวงจรมี GND1 และ GND2 แยกกันซึ่งจะต้องไม่นํามาต่อเข้าด้วยกันโดยเด็ดขาด










2. ให้ใช้แรงดันไฟเลี้ยง +5V และ GND1 ให้ใช้จากบอร์ด Arduino แต่สาหรับ +9V และ GND2
ให้ใช้จากแหล่งจ่ายแรงดันควบคุม


3. เขียนโค้ด Arduino โดยสร้างสัญญาณแบบ PWM โดยใช้คาสั่ง analogWrite() เพื่อสร้างสัญญาณ
เอาต์พุตที่ขา D5 โดยปรับค่า Duty Cycle ของสัญญาณเอาต์พุตตามค่าที่อ่านได้จากตัวต้านทาน

ปรับค่าได้ ซึ่งต่อเป็นอินพุตที่ขา A1












4. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณที่ขา E ของ PC817 เทียบกับ GND2 แล้วทดลองหมุนปรับที่
ตัวต้านทานปรับค่าได้ เพื่อปรับค่า Duty Cycle เป็น 0% 25% 50% และ 100% ตามลาดับ

บันทึกรูปคลื่นสัญญาณที่ได้ในแต่ละกรณี







Duty Cycle เป็น 0%


Duty Cycle เป็น 25%




Duty Cycle เป็น 50%




Duty Cycle เป็น 100%




5. ทดลองเปลี่ยนจาก LED และตัวต้านทาน เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงขนาดเล็ก (ปรับแรงดันไฟเลี้ยง
จาก +9V ให้เป็นแรงดันไฟเลี้ยงที่เหมาะสมกับมอเตอร์ไฟฟ้า +VM) โดยต่อวงจรตามรูปที่ 5.4.2 และ
ทดลองปรับค่า Duty Cycle











6. เขียนรายงานการทดลอง ซึ่งประกอบด้วยคาอธิบายการทดลองตามขั้นตอน ผังวงจรที่ถูกต้อง
ครบถ้วนตามหลักไฟฟ้า (ให้วาดด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle) รูปถ่ายของการต่อวงจรบน
เบรดบอร์ด



การทดลองที่ 5.1 การต่อวงจรไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์

การทดลองที่ 5.1
การต่อวงจรไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์



วัตถุประสงค์



 ฝึกต่อวงจรโดยใช้ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์ เพื่อใช้เป็นตัวส่งแสงและตัวรับแสงตามลาดับ
 หาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณแสงสะท้อนกลับ และระดับของแรงดันเอาต์พุตจากวงจร
รายการอุปกรณ์
 แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด) 1 อัน
 ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรด 1 ตัว
 โฟโต้ทรานซิสเตอร์ 1 ตัว
 ตัวต้านทาน 220Ω 1 ตัว
 ตัวต้านทาน 10kΩ 1 ตัว
 ตัวเก็บประจุแบบ Electrolytic 1uF (มีขั้ว) 1 ตัว
 สายไฟสาหรับต่อวงจร 1 ชุด
 มัลติมิเตอร์ 1 เครื่อง
 แหล่งจ่ายแรงดันควบคุม 1 เครื่อง
 ออสซิลโลสโคปแบบดิจิทัล 1 เครื่อง
ขั้นตอนการทดลอง
1. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด ตามผังวงจรในรูปที่ 5.1.1 (ให้ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้
ทรานซิสเตอร์ อยู่ห่างกันประมาณ 1 cm) แล้วป้อนแรงดันไฟเลี้ยง VCC=+5V และ Gnd
จากแหล่งจ่ายแรงดันควบคุม ไปยังวงจรบนเบรดบอร์ด
รูป





2. วัดแรงดันตกคร่อมที่ขาทั้งสองของไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรด และวัดปริมาณกระแสที่ไหล (mA)
แล้วจดบันทึกค่าที่ได้ (สา หรับรายงานการทดลอง)
-16.37 mA
3. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดแรงดัน Vout แล้วบันทึกภาพของรูปคลื่นสัญญาณที่ปรากฏ





4. ทดลองต่อและไม่ต่อตัวเก็บประจุ สังเกตความแตกต่างของรูปคลื่นสัญญาณ Vout ในแต่ละกรณี





-ความแตกต่างคือ เอาพุตที่ได้จากกรณีต่อตัวเก็บประจุจะมีความเสถียรมากกว่ากรณีที่ไม่ต่อตัวเก็บประจุ






5. นำแผ่นกระดาษสีขาว มาอยู่เหนือ ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์ ที่ระยะห่าง
0.5 cm, 1 cm, 5 cm, และ 10 cm ตามลาดับ ใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดัน Vout สาหรับระยะห่าง
ดังกล่าว แล้วจดบันทึกค่าที่ได้ในแต่ละกรณี









6. นาแผ่นกระดาษสีดา มาอยู่เหนือ ไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรดและโฟโต้ทรานซิสเตอร์ ที่ระยะห่าง
0.5 cm, 1 cm, 5 cm, และ 10 cm ตามลาดับ ใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดัน Vout สาหรับระยะห่าง
ดังกล่าว แล้วจดบันทึกค่าที่ได้ในแต่ละกรณี









7. ต่อวงจรตามผังวงจรในรูปที่ 5.1.2 แล้วเปรียบเทียบความแตกต่างกับวงจรในรูปที่ 5.1.1
(เช่น ดูการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน Vout)











-ความแตกต่างระหว่าง 2 วงจรนี้คือ ค่าของแรงดันจะแปรผกผันกันนั่นเอง เช่นถ้า 5.11 เข้าใกล้แรงดันจะน้อยพอเป็น 5.12 เมื่อเข้าใกล้แรงดันก็จะมาก



8. เขียนรายงานการทดลอง ซึ่งประกอบด้วย คาอธิบายการทดลองตามขั้นตอน ผังวงจรที่ถูกต้อง
ครบถ้วนตามหลักไฟฟ้า (ให้วาดด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle) รูปถ่ายของการต่อวงจรบน
เบรดบอร์ด รูปคลื่นสัญญาณที่วัดได้จากออสซิลโลสโคปตามโจทย์การทดลอง และตอบคาถาม
ท้ายการทดลอง








คำถามท้ายการทดลอง


1. จากการทดลองพบว่า จะมีกระแสไหลผ่านไดโอดเปล่งแสงอินฟราเรด 16.37 mA และวัดแรงดันตกคร่อมได้เท่ากับ 1.23 โวลต์
2. เมื่อทดลองโดยใช้กระดาษสีขาว สาหรับวงจรแบบที่ 1 จะได้แรงดัน Vout อยู่ในช่วง 0.14V – 2.157 V (ค่าต่าสุด-สูงสุด)และจะได้แรงดัน Vout อยู่ในช่วง 3.119 – 4.922V (ค่าต่าสุด-สูงสุด)
 สำหรับวงจรแบบที่ 2
3. เมื่อทดลองโดยใช้กระดาษสีดา สาหรับวงจรแบบที่ 1 จะได้แรงดัน Vout อยู่ในช่วง 2.164V-3.626V (ค่าต่าสุด-สูงสุด) และจะได้แรงดัน Vout อยู่ในช่วง 0.579V-1.699V (ค่าต่าสุด-สูงสุด) สาหรับวงจรแบบที่2
4. ที่ระยะห่างเท่ากัน การทดลองด้วยวัตถุสีขาวและวัตถุสีดา จะให้ผลแตกต่างกันหรือไม่ เมื่อวัดแรงดัน Vout ของวงจร จงอธิบาย

-ให้ผลแตกต่างกัน เพราะว่ากระดาษสีขาวนั้นจะสะท้อนแสง ทาให้เมื่อวัดแรงดันจะมีการเปลี่ยนแปลงมาก
กระดาษสีดาจะดูดกลืนแสง ทาให้เมื่อวัดแรงดันจะมีการเปลี่ยนแปลงน้อย


5. การต่อตัวเก็บประจุคร่อมที่ Vout กับ Gnd มีผลต่อรูปคลื่นสัญญาณเอาต์พุตหรือไม่ จงอธิบาย

ตอบ มีผลต่อรูปคลื่นสัญญาณเอาต์พุต เพราะเป็นตัวทาให้สัญญาณมีความเสถียรมากขึ้น


6. ในการทดลอง แสงสว่างจากหลอดไฟในอาคารมีผลต่อสัญญาณ Vout หรือไม่ จงอธิบาย

ตอบ ไม่มีผลต่อสัญญาณ Vout เนื่องจาก โฟโต้ทรานซิสเตอร์ รับแสงจากอินฟาเรด เท่านั้นจึงทาให้ไม่มีผลกระทบต่อวงจร









การทดลองที่ 4.7 การสร้างวงจรสร้างและควบคุมแรงไฟฟ้ากระแสตรงแบบปรับค่าได้

การทดลองที่ 4.7
การสร้างวงจรสร้างและควบคุมแรงไฟฟ้ากระแสตรงแบบปรับค่าได้
วัตถุประสงค์
·       ฝึกออกแบบและต่อวงจรสร้างและควบคุมแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงแบบปรับค่าได้ โดยใช้ไอซี
LM317T เพื่อใช้เป็นแหล่งจ่ายให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์รายการอุปกรณ์
·       แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด) 1 อัน
·       ไอซี LM317T 1 ตัว
·       ตัวเก็บประจุ 0.1uF และ 10uF อย่างละ 1 ตัว
·       ตัวต้านทานค่าคงที่ เลือกค่าในช่วง 220Ω ถึง 1kΩ 1 ตัว
·       ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบสามขา 4.7kΩ หรือ 10kΩ 1 ตัว
·       ไดโอด 1N4001 อย่างน้อย 1 ตัว
·       สายไฟสำหรับต่อวงจร 1 ชุด
·       แหล่งจ่ายแรงดันควบคุม 1 เครื่อง
·       มัลติมิเตอร์ 1 เครื่อง
ขั้นตอนการทดลอง
1. ออกแบบวงจร วาดผังวงจร และต่อวงจรบนเบรดบอร์ด เพื่อสร้างวงจรควบคุมแรงดันแบบปรับค่าได้
โดยใช้ไอซี LM317T และอุปกรณ์ตามรายการที่ได้ระบุไว้ (ศึกษาตัวอย่างวงจรได้จากดาต้าชีท
LM317T และจากอินเทอร์เน็ต)







2. ใช้แรงดันจากแหล่งจ่ายภายนอก โดยป้อนแรงดัน +9V เป็นแรงดันอินพุต และปรับค่าตัวต้านทานปรับค่าได้ในวงจร ให้ได้แรงดันเอาต์พุต +5V และ +3.3V ตามลำดับ ตรวจสอบและวัดระดับแรงดันเอาต์พุตด้วย
มัลติมิเตอร์











วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 4.4 สัญญาณอินพุต-แอนะล็อกและการใช้งานร่วมกับบอร์ด Arduino


การทดลองที่ 4.4 สัญญาณอินพุต-แอนะล็อกและการใช้งานร่วมกับบอร์ด Arduino

วัตถุประสงค์

1. ฝึกต่อวงจรเพื่อสร้างสัญญาณแอนะล็อก และป้อนให้บอร์ด Arduino เพื่อใช้เป็นสัญญาณอินพุต
2. เขียนโปรแกรมสําหรับ Arduino เพื่อเปิด/ปิด LED ตามสภาวะแสง

รายการอุปกรณ์

1. แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)    1 อัน
2. บอร์ด Arduino (ใช้แรงดัน +5V)   1 บอร์ด
3. ตัวต้านทานปรับค่าได้ 10kΩ หรือ 20kΩ  1 ตัว
4. ตัวต้านทานไวแสง LDR    1 ตัว
5. ไดโอดเปล่งแสงขนาด 5 มม.   1 ตัว
6. ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω   1 ตัว
7. ตัวต้านทาน 10kΩ    1 ตัว
8. สายไฟสําหรับต่อวงจร    1 ชุด
9. มัลติมิเตอร์     1 เครื่อง



ขั้นตอนการทดลอง


1. ต่อวงจรตามผังวงจรในรูปที่ 4.4.1 บนเบรดบอร์ด ร่วมกับบอร์ด Arduino โดยใช้แรงดันไฟเลี้ยง VCC=+5V และ Gnd จากบอร์ด Arduino เท่านั้น (ต่อวงจรบนเบรดบอร์ดก่อน จากนั้นจึงเชื่อมต่อ สัญญาณอนิพุตและเอาต์พุตของบอร์ด Arduino เมื่อตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงป้อนแรงดันไฟ เลี้ยงและ Gnd ตามลําดับ) 


2. เขียนโปรแกรมตามตัวอย่างโค้ดที่กําหนดให้ และทําขั้นตอน Upload จากนั้นให้ทดลองหมุนปรับค่าที่ ตัวต้านทานปรับค่าได้ หรือปิดบริเวณส่วนรบัแสงของ LDR เปิดหน้าต่าง Serial Monitor ของ Arduino IDE แล้วสังเกตข้อความที่ถูกส่งมาจากบอร์ด Arduino 



const byte LDR_PIN = A1; //from LDR
const byte VREF_PIN = A2 ; // from Trimpot
const byte LED1_PIN = 5; //to LED1

void setup () {
  pinMode ( LED1_PIN, OUTPUT ) ;
  digitalWrite (LED1_PIN, LOW );
  analogReference (DEFAULT) ;
  Serial.begin (9600 ) ; // open serial port
}
void loop () {
  //read analog values
  int value1 = analogRead (LDR_PIN ) ;
  int value2 = analogRead (VREF_PIN) ;
  // send message to serial port
  Serial.print ("Read " ) ;
  Serial.print (value1, DEC );
  Serial.print ( ", ") ;
  Serial.println (value2, DEC ) ;
  
  if(value1<value2){
      digitalWrite (LED1_PIN, HIGH );
  }else{
      digitalWrite (LED1_PIN, LOW );
  }
  delay (200);
  
  
   
}





3. ปรับแก้โค้ดตัวอย่าง เพื่อให้วงจรและบอร์ด Arduino แสดงพฤติกรรมดังนี้ ถ้าปิดส่วนรับแสงของตัว ต้านทานไวแสง LDR หรือมปีริมาณแสงนอ้ยลง จะทําให้ LED1 “สว่าง” แต่ถ้า LDR ได้รับแสงตาม สภาวะแสงปรกติ หรือได้รับปริมาณแสงมาก จะทําให้ LED1 “ไม่ติด” 

4. เขียนรายงานการทดลอง ซงึ่ประกอบด้วยคําอธบิายการทดลองตามขั้นตอน ผงัวงจรที่ถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักไฟฟา้ (ให้วาดด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle) รูปถ่ายของการตอ่วงจรบน เบรดบอร์ด โค้ด Arduino ที่ได้ทดลองจรงิพร้อมคาํอธิบายโค้ด/การทํางานของโปรแกรมโดย ละเอียด และตอบคําถามทา้ยการทดลอง



ผลการทดลอง



ภาพวงจรที่ต่อตามผังวงจรที่ออกแบบ







คำถามท้ายการทดลอง



1. ค่าที่ได้ (เลขจํานวนเต็ม) จากบอร์ด Arduino สําหรับสญัญาณอินพุตที่ขา A1 มีค่าอยู่ในช่วงใด (ต่ําสุด-สูงสุด) 

2. จะต้องปรับแก้โค้ดอย่างไรสําหรับบอร์ด Arduino ถ้าจะทําให้ LED1 มีความสว่างมากน้อยได้ตาม ปริมาณแสงที่ได้รับ เช่น ถ้า LDR ได้แสงสวา่งน้อย จะทําให้ LED1 สว่างมาก แต่ถ้า LDR ได้แสง สว่างมาก จะทําให้ LED1สว่างน้อย หรือไม่ติดเลย

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 4.1 การต่อวงจรไอซีเปรียบเทียบแรงดัน

การทดลองที่ 4.1 การต่อวงจรไอซีเปรียบเทียบแรงดัน

วัตถุประสงค์
1. ฝึกต่อวงจรเพื่อสร้างแรงดันอ้างอิง โดยใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้ (Trimpot / Potentiometer)  แบบ 3 ขา
2. ฝึกต่อวงจรโดยใช้ไอซีที่มีตัวเปรียบเทียบแรงดัน (Voltage Comparator) อยู่ภายใน เช่น เบอร์ LM393N (ตัวถังแบบ PDIP-8)

รายการอุปกรณ์
1. แผงต่อวงจร (เบรดบอร์ด)     1 อัน
2. ไอซีเปรียบเทียบแรงดัน เบอร์ LM393N   1 ตัว (สามารถศึกษา Data Sheet ได้ที่นี่)
3. ตัวต้านทานปรับค่าได้แบบสามขา ขนาด 10kΩ หรือ 20kΩ 1 ตัว (สามารถศึกษา Data Sheet ได้ที่นี่)
4. ตัวต้านทาน 4.7kΩ หรือ 10kΩ (สําหรับ Pull-Up)  1 ตัว
5. ตัวต้านทาน 330Ω หรือ 470Ω    1 ตัว
6. ไดโอดเปล่งแสง (LED) ขนาด 5 มม.   1 ตัว
7. สายไฟสําหรับต่อวงจร     1 ชุด
8. มัลติมิเตอร์      1 เครื่อง
9.แหล่งจ่ายแรงดันควบคุม     1 เครื่อง
10. เครื่องกําเนิดสัญญาณแบบดิจิทัล    1 เครื่อง
11.ออสซิลโลสโคปแบบดิจิทัล    1


ขั้นตอนการทดลอง
1. ต่อวงจรโดยใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้ ตามผังวงจรในรูปที่ 4.1.1 แล้วป้อนแรงดันไฟเลี้ยง VCC=+5V และ Gnd จากแหล่งจ่ายแรงดันควบคุม ไปยังวงจรบนเบรดบอร์ด



2. ใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดันระหว่างจุด Vx กับ Gnd และทดลองหมุนปรับค่าที่ตัวต้านทาน สังเกตและจด บันทึกค่าแรงดันต่ำสุดและแรงดันสูงสุดที่วัดได้

3. ต่อวงจรบนเบรดบอร์ด โดยใช้ไอซี LM393N ตามผังวงจรในรูปที่ 4.1.2 (เลือกใช้ตัวเปรียบเทียบ แรงดันที่อยู่ภายในตัวใดตัวหนึ่งจากที่มีอยู่สองตัว)




4. สร้างสัญญาณแบบสามเหลี่ยม (Triangular Wave) ให้อยู่ในช่วงแรงดัน 0V ถึง 5V โดยใช้เครื่อง กําเนิดสัญญาณ (Function Generator) โดยกําหนดให้ Vpp = 5V (Peak-to-Peak Voltage) และ แรงดัน Offset = 2.5V และความถี่ f = 1kHz เพื่อใช้เป็นสัญญาณอินพุต Vin แล้วนําไปป้อนให้ขา V- ของตัวเปรียบเทียบแรงดันที่ได้เลือกใช้

5. ใช้ออสซิลโลสโคปวัดสัญญาณ โดยใช้ช่อง A สําหรับวัดสัญญาณที่มาจากเครื่องกําเนิดสัญญาณ (Vin) และช่อง B สําหรับวัดสัญญาณเอาต์พุต (Vout) ที่ขาของตัวเปรียบเทียบแรงดันที่ได้เลือกใช้ (บันทึกภาพที่ได้จากออสซิลโลสโคป เพื่อใช้ประกอบการเขียนรายงานการทดลอง)

6. ทดลองหมุนปรับค่าที่ตัวต้านทานปรับค่าได้ วัดแรงดัน Vref และสังเกตการเปลี่ยนแปลงค่า Duty Cycle ของรูปคลื่นสญัญาณเอาต์พุต

7. สลับขาสญัญาณอินพุตที่ขา V+ และ V- (ตามผังวงจรในรูปที่ 4.1.3) แลว้ทําขั้นตอนที่ 6 ถึง 7 ซ้ํา


8. เขียนรายงานการทดลอง ซึ่งประกอบด้วย คําอธิบายการทดลองตามขั้นตอน ผังวงจรที่ถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักไฟฟ้า (ให้วาดด้วยโปรแกรม Cadsoft Eagle) รูปถ่ายของการตอ่วงจรบน เบรดบอร์ด รูปคลื่นสัญญาณที่วัดได้จากออสซิลโลสโคปตามโจทย์การทดลอง และตอบคําถาม ท้ายการทดลอง



รูปการทดลอง




รูป 4.1.1ผังวงจรสำหรับต่อวงจรที่ใช้ตัวต้านทานปรับค่าได้













รูป 4.1.2 ผังวงจรสำหรับต่อวงจรเปรียบเทียบแรงดัน(Vin ต่อที่ขา V-)





กราฟ















ผลการทดลอง


คำถามท้ายการทดลอง
1. ระดับของแรงดันอ้างอิง (Vref) ที่ได้จากตัวต้านทานปรับค่าได้ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบแรงดัน  มีความสัมพันธอ์ย่างไรกับระดับของแรงดันเอาต์พุต (Vout) ที่ได้จากตัวเปรียบเทียบแรงดัน และ ค่า Duty Cycle ของสัญญาณเอาต์พุตที่วัดได้ จงอธิบาย

Vref เป็นตัวเปรียบเทียบกับ Vin ถ้า Vref > Vin Vout จะได้ Logic High

2. ถ้าจะให้สญัญาณเอาต์พุต Vout มีค่า Duty Cycle ประมาณ 50% จะต้องหมุนปรับค่าที่ตัว ต้านทานปรับค่าได้ ให้มีแรงดัน Vref ประมาณเท่าใด

3. เมื่อหมุนปรับค่าที่ตัวต้านทานปรับค่าได้ จากซ้ายสุดไปขวาสุด จะได้ค่า Vref อยู่ในช่วง 0 ถึง 5.1 โวลต์ และได้ค่า Duty Cycle ของสัญญาณเอาต์พุตอยู่ในช่วง 0 ถึง 83.3 เปอร์เซ็นต์