วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 2.2

การสร้างลอจิกเกตพื้นฐานโดยใช้ไอซี 74HCT00


วัตุประสงค์ของการทดลอง

- เพื่อฝึกการต่อวงจรโดยใช้ไอซีลอจิก 74HCT00 บนเบรดบอร์ด
- เพื่อสร้างลอจิกเกตพื้นฐาน เช่น OR AND และ NOR หรือตามฟังก์ชั่นบูลีนที่กำหนดให้         โดยใช้ลอจิเกต  NAND ที่มีอยู่บนไอซี 74HCT00
- เพื่อต่อวงจรปุ่มกดเพื่อใช้เป็นอินพุต และต่อวงจรไดโอดเปล่งแสงพร้อมตัวต้านทานเพื่อใช้เป็นเอาต์พุตสำหรับลอจิเกต

รายการอุปกรณ์

  1. แผงสำหรับต่อวงจร(เบรดบอร์ด)                        1   ชุด
  2. ไอซี 74HCT00                                                   1   ตัว
  3. ปุ่มกดชนิด 4 ขา                                                 2   ตัว
  4. ไอโอดเปล่งแสงขนาด 5 มม.                             1   ตัว
  5. ตัวต้านทาน 10k โอห์ม                                       1   ตัว
  6. ตัวต้านทาน 330 โอห์ม                                       1   ตัว
  7. สายไฟสำหรับต่อวงจร                                       1   ชุด
  8. แหล่งจ่ายควบคุมแรงดัน                                    1   เครื่อง

ขั้นตอนในการทดลอง

  1.    ออกแบบและวาดผังวงจร สำหรับสร้างลอจิเกตที่มีอินพุตสองขาและเอาต์พุตหนึ่งขา โดยใช้ไอซี 74HCT00 เพียงตัวเดียวเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 3 กรณี ได้แก่ AND OR และ NOR พร้อมวงจรปุ่มกดที่มีตัวต้านทาน 10k โอห์มแบบ PULL-UP จำนวน 2 ชุด (SW1 และ SW2 ) สำหรับขาอินพุตทั้ง 2 ลอจิเกต และวงจรไอโอดเปล่งแสง (LED1) พร้อมตัวตานทาน 330 โอห์ม เพื่อใช้แสดงสถานะเอาต์พุต
  2.    ต่อวงจรบนเบรดบอร์ดตามที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อสร้างลอจิกเกต AND และมีวงจรปุ่มกด SW1 และ SW2 เพื่อใช้เป็นอินพุต และวงจรไอโอดเปล่งแสง LED1
  3. สร้างอินพุตทั้งสองขาของลอจิเกต ให้ครบ 4 กรณี แล้วสังเกตผลและบันทึกลงในตาราง 2.1.1
  4. จากนั้นให้ทำเช่นเดียวกันในข้อ 2-3 แต่เปลี่ยนจากสร้างลอจิกเกต AND เป็น OR และ NOR ตามลำดับ และบันทึกผลในตารางที่ 2.1.2และ2.1.3 ตามลำดับ.

 ผลการทดลอง

วงจรลอจิกเกต AND
ออกแบบวงจรด้วยโปรแกรม Fritzing



วงจร Logic Gate AND Schematic View
10658287_768636929865874_374582011_o

Untitled

25850

วงจรที่ต่อบน Breadboard
25851
ไม่กดทั้ง 2 Switch
25852
กด Switch 1
25853
กด Switch 2
25854
กด 2 Switch
ตารางผลการทดลองสำหรับวงจรลอจิกเกต AND
 ตารางที่ 2.2.1

ปุ่มกด SW1
      ปุ่มกด SW2
สถานะของไดโอดเปล่งแสง (ติด/ดับ)
ไม่กด (High)ไม่กด (High)ติด
กด (Low)ไม่กด (High)ดับ
ไม่กด (High)กด (Low)ดับ
กด (Low)กด (Low)ดับ


————————————————————————————
วงจรลอจิกเกต OR
ออกแบบวงจรด้วยโปรแกรม Fritzing
วงจร Logic Gate OR Schematic View

OR

Untitled
26196
ไม่กดทั้ง 2 Switch
26197
 กด Switch 1
26198
กด Switch 2
26199
กด 2 Switch
ตารางผลการทดลองสำหรับวงจรลอจิกเกต OR
 ตารางที่ 2.2.2

ปุ่มกด SW1
      ปุ่มกด SW2
สถานะของไดโอดเปล่งแสง (ติด/ดับ)
กด (Low)กด (Low)ดับ
กด (Low)ไม่กด (High)ติด
ไม่กด (High)กด (Low)ติด
กด (Low)กด (Low)ติด

————————————————————————————
วงจรลอจิกเกต NOR
ออกแบบวงจรด้วยโปรแกรม Fritzing
Untitled
Untitled
วงจร Logic Gate NOR Schematic View
 26203
ไม่กดทั้ง 2 Switch
26201
 กด Switch 1
26202
กด Switch 2
26200
กด 2 Switch

ตารางผลการทดลองสำหรับวงจรลอจิกเกต NOR
 ตารางที่ 2.2.3

ปุ่มกด SW1
      ปุ่มกด SW2
สถานะของไดโอดเปล่งแสง (ติด/ดับ)
กด (Low)กด (Low)ติด
กด (Low)ไม่กด (High)ดับ
ไม่กด (High)กด (Low)ดับ
ไม่กด (High)ไม่กด (High)ดับ





คำถามท้ายการทดลอง

1. จากผลการทดลองต่อวงจรสําหรับสร้างลอจิกเกต AND OR และ NOR ตามลําดับ เป็นไปตามตาราง ค่าความจริงสําหรับลอจิกเกตดังกลา่วหรือไม่ จงอธิบาย
Ans:เป็นไปตามตารางค่าความจริงทุกวงจรสำหรับการสร้างวงจรลอจิกเกต
2. เมื่อต่อวงจรปุ่มกดที่มีตัวต้านทาน 10kΩ แบบ Pull-Down (แทน Pull-Up) เพื่อสร้างสัญญาณอินพตุ ให้ลอจิกเกต จะให้ผลแตกต่างจากที่ได้ทดลองไปหรือไม่ จงอธิบาย
Ans:แตกต่างกัน Pull up ถ้ากดจะเป็น 0 ไม่กดเป็น 1 แต่ถ้าเป็น Pull Down ถ้ากดจะเป็น 1 แต่ถ้าไม่กดจะเป็น 0
3. ถ้าจะสร้างวงจรตรรกะตามฟังก์ชั่นบูลีน ∙∙  โดยใช้ไอซี 74HCT00 เท่านั้น จะต้องออกแบบอย่างไร (ให้วาดรูปผังวงจร)
Ans:
output_bb
output_schem





วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 1.3 การตรวจวัดสัญญาณดิจิทัล-เอาต์พุตจากบอร์ด ARDUINO

การทดลองที่ 1.3 การตรวจวัดสัญญาณดิจิทัล-เอาต์พุตจากบอร์ด Arduino
จุดประสงค์
1.ศึกษาการใช้งานบอร์ดArduino
วัสดุ-อุปกรณ์
1. บอร์ด Arduino (พร้อมสายUSB)                      1 อัน

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 1.2

การต่อวงจรโดยใช้ไอซีควบคุมแรงดันคงที่

วัตถุประสงค์ของการทดลอง


  1. เพื่อฝึกและเข้าใจการทำงานและการต่อวงจรที่มีไอซีควบคุมแรงดันคงที่ เบอร์ 7805 ในวงจรลงบนเบรดบอร์ด
  2. เพื่อฝึกการวัดปริมาณทางไฟฟ้าภายในวงจรด้วยมัลติมิเตอร์

รายการอุปกรณ์

  1. แผงต่อวงจร                                                             1  อัน
  2. ไอซีควบคุมแรงดัน 7805                                          1  ตัว
  3. ตัวเก็บประจุแบบมีขั้ว 100 uF และ 10 uF                   1  ตัว
  4. ตัวเก็บประจุแบบไม่มีขั้ว 100 nF                                1  ตัว
  5. ตัวต้านทาน 330 โอห์ม                                             1  ตัว
  6. ไดโอดเปล่งแสงขนาด 5 มม.                                   1  ตัว
  7. ไดโอด 1N4002                                                        1  ตัว
  8. สายไฟสำหรับต่อวงจร                                              1  ชุด
  9. มัลติมิเตอร์                                                                1  เครื่อง

วิธีการทดลอง

1.ต่อวงจรตามผังวงจรในรูปที่ 1.2.3 จากนั้นแรงดันคงที่ 6 V ถึง 12 V โดยเพิ่มทีละ 1 V ที่ตำแหน่ง JP1 เป็นแหล่งสำหรับ Vin
2.ใช้มัลติมิเตอร์เพื่อวัดแรงดันที่ขาอินพุต IN และ ขาเอาต์พุต OUT ของไอซี 7805 เทียบกับขา GND จากนั้นวัดแรงดันที่จุด Vin และ Vout เทียบกับ GND จากนั้นบันทึกค่าของแรงดัน
3.วัดกระแสที่ไหลผ่าน LED1 แล้วจดบันทึก
4.ทดลองจ่ายแรงดันไฟเลี้ยง 9 V กลับขั้ว คือให้ทำการต่อขั้วบวกกับGND และ ต่อขั้วลบกับ Vin แล้วสังเกตผลที่เกิดขึ้น

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การทดลองที่ 1.1

การต่อวงจรปุ่มกดและวัดสัญญาณเอาต์พุต




วัตถุประสงค์ของการทดลอง

  1. เพื่อฝึกการต่อวงจรที่มีปุ่มกดเป็นส่วนประกอบลงในเบรดบอร์ด
  2. ฝึกทักษะในการใช้ออสซิลโลสโคป และการวัดสัญณาณต่างๆ ทางไฟฟ้า

รายการอุปกรณ์

  1. เบรดบอร์ด                                            1  อัน
  2. ปุ่มกดแบบ 4 ขา                                    1  อัน
  3. ตัวต้านทาน  330   โอห์ม                      1  ตัว
  4. ตัวต้านทาน  10K  โอห์ม                      1  ตัว
  5. ไดโอดเปล่งแสงขนาด   5 มม.             1  ตัว
  6. ตัวเก็บประจุแบบมีขั้ว 10 uF                  1  ตัว
  7. มัลติมิเตอร์                                           1  เครื่อง
  8. ออสซิโลสโคปแบบดิจิทัล                   1  เครื่อง
  9. แหล่งจ่ายควบคุมแรงดัน                      1  ชุด
  10. สายไฟสำหรับต่อวงจร                         1  ชุด

วิธีการทดลอง

  1. ให้ต่อวงจรตามในรูปที่ 1.1.4 และให้จ่ายแรงดัน 5Vdc
  2. ใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดันตกคร่อมที่ตัวต้านทาน 10K โอห์ม 2 ครั้ง โดยครั้งแรกในขณะที่กดปุ่ม ครั้งที่ 2 ในขณะที่ไมไ่ด้กดปุ่ม จากนั้นทำการจดบันทึกค่าแรงดันที่ได้
  3. ใช้มัลติมิเตอร์วัดกระแสที่ไหลผ่านปุ่มกด แบ่งเป็น 2 กรณีเช่นเดียวกับวัดแรงดันตกคร่อม จากนั้นนำค่าที่ได้มาบันทึกในตาราง
  4. ใช้ออลซิลโลสโคปวัดสัญญาณที่ได้วงจร Vout เทียบกับ GND  ตามรูป ที่ 1.1.4เมื่อกดปุ่มแล้วปล่อยทันที บันทึกรูปสัญญาณที่ปรากฏ
  5. ต่อวงจรตามรูปที่ 1.1.5  แล้วใช้ออลซิลโลสโคปวัดสัญญาณที่ได้จากวงจร Vout เทียบ GND เมื่อกดปุ่มแล้วปล่อยทันที  บันทึกรูปสัญญาณที่ปรากฏ
  6. ต่อวงจรตามรูปที่ 1.1.6  จากนั้นใช้มัลติมิเตอร์วัดแรงดันตกคร่อมที่ตัวต้านทาน 10K โอห์ม โดยแบ่งเป็น 2 กรณี คือขณะที่กดปุ่ม และ ไม่กดปุ่ม จากนั้นจดบันทึกค่าแรงดันทีได้ลงในตาราง
  7. ใช้มัลติมิเตอร์วัดกระแสที่ไหลผ่านปุ่มกด โดยแบ่งเป็น 2 กรณีเช่นเดียวกับการวัดแรงดันตกคร่อม จากนั้นนำค่าที่ได้บันทึกลงในตาราง
  8. ใช้ออลซิลโลสโคปวัดสัญญาณที่ได้จากวงจร Vout เทียบ GND ตามรูป ที่ 1.1.6 เมื่อกดปุ่มแล้วปล่อยทันที บันทึกรูปสัญญาณที่ปรากฏ
  9. ต่อวงจรตามรูปที่ 1.1.7 จากนั้นใช้ออลซิลโลสโคปวัดสัญญาณที่ได้จากวงจร Vout เทียบ GND เมื่อกดปุ่มแล้วปล่อยทันที จากบันทึกรูปสัญญาณที่ปรากฏ